วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4
กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 4 ไฟฟ้า
เรื่อง การต่อวงจรไฟฟ้าในบ้าน จำนวน 1 คาบ / สัปดาห์ สอนครั้งที่ 1
วันที่ ..... พฤศจิกายน พ.ศ.2552 โรงเรียนบ้านหนองนกกะเรียน
ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวนนักเรียน..... คน
ผู้สอน นางสาวลดาวัลย์ รุ่งเรือง ค.บ.4 วิทยาศาสตร์
______________________________________________________________________________
มาตรฐานการเรียนรู้ ว.5.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงานปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระสำคัญ
วงจรไฟฟ้า เป็นเส้นทางที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านอุปกรณ์ต่างๆจนครบวงจร การต่อหลอดไฟมี 2 แบบ คือการต่อแบบอนุกรมและการต่อแบบขนาน อุปกรณ์ที่ใช้ในวงจรไฟฟ้าที่สำคัญได้แก่ สายไฟ สะพานไฟ ฟิวส์ สวิตช์ และเต้ารับเต้าเสียบ
จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ปลายทาง
นักเรียนสามารถอธิบายการต่อวงจรไฟฟ้าในบ้านได้ถูกต้อง
จุดประสงค์นำทาง
1.นักเรียนอธิบายการต่อหลอดไฟฟ้าได้ถูกต้อง
2.นักเรียนจำแนกอุปกรณ์ที่ใช้ในวงจรไฟฟ้าได้ถูกต้อง
3.นักเรียนจำแนกเครื่องมือตรวจสอบวงจรไฟฟ้าได้ถูกต้อง
สาระการเรียนรู้
การต่อวงจรไฟฟ้าในบ้าน
1. การต่อหลอดไฟฟ้า
2. อุปกรณ์ที่ใช้ในวงจรไฟฟ้า
3. เครื่องมือตรวจสอบวงจรไฟฟ้า
กระบวนการเรียนรู้
1.ขั้นอธิบายการต่อหลอดไฟฟ้า
1.1 จัดทำนักเรียน โดยแบ่งเป็นกลุ่ม 4 กลุ่ม ตามกติกาการนับ 1-4 โดยให้นักเรียนนับจากใบรายชื่อนักเรียนครบทุกคน
1.2 นำเสนอสื่อเนื้อหาบนกระดาน แล้วตั้งคำถามจำนวน 2 คำถาม
นักเรียนทราบไหมว่าการต่อวงจรไฟฟ้ามีกี่แบบ อะไรบ้าง
นักเรียนทราบไหมว่าการต่อหลอดไฟฟ้าเป็นแบบอนุกรมหรือแบบขนาน
1.3 อธิบายเนื้อหาการต่อหลอดไฟฟ้าบนกระดานและมอบหมายให้นักเรียนเขียนลงสมุดของนักเรียนทุกคน
1.4 ปฏิบัติภาระงาน โดยให้ทำทุกคน
1.5 สะท้อนความคิดของนักเรียนให้เข้าใจถึงเรื่องการต่อหลอดไฟฟ้าพร้อมถามคำถามเพิ่มเติม
1.6 นำเสนอผลงานโดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนตอบคำถาม
1.7 ประเมินผลสรุปและเพิ่มเติมเนื้อหา
2.ขั้นจำแนกอุปกรณ์ที่ใช้ในวงจรไฟฟ้า
2.1 จัดทำนักเรียน โดยแบ่งเป็นกลุ่ม 4 กลุ่ม ตามกติกาการนับ 1-4 โดยให้นักเรียนนับจากใบรายชื่อนักเรียนครบทุกคน
2.2 นำเสนอสื่อเนื้อหาบนกระดาน แล้วตั้งคำถามจำนวน 2 คำถาม
นักเรียนทราบไหมว่าอุปกรณ์ที่ใช้ในวงจรไฟฟ้ามีอะไรบ้าง
นักเรียนลองยกตัวอย่างมากลุ่มละชนิด
2.3 อธิบายเนื้อหาเรื่องอุปกรณ์ที่ใช้ในวงจรไฟฟ้าบนกระดานและมอบหมายให้นักเรียนเขียน ลงสมุดของนักเรียนทุกคน พร้อมเตรียมลงมือทำการทดลอง
2.4 ปฏิบัติภาระงาน โดยให้ทำทุกคน
2.5.สะท้อนความคิดของนักเรียนให้เข้าใจถึงเรื่องอุปกรณ์ที่ใช้ในวงจรไฟฟ้า
2.6 นำเสนอผลงานโดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนตอบคำถาม
2.7 ประเมินผลสรุปและเพิ่มเติมเนื้อหา
3.ขั้นจำแนกเครื่องมือตรวจสอบวงจรไฟฟ้า
3.1 จัดทำนักเรียน โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย 4กลุ่ม ตามกติกาการนับ 1-4 โดยให้นักเรียนนับจากใบรายชื่อนักเรียนครบทุกคน
3.2 นำเสนอสื่อเนื้อหาบนกระดาน แล้วตั้งคำถามจำนวน 2 คำถาม
นักเรียนทราบไหมว่าเครื่องมือตรวจสอบวงจรไฟฟ้ามีอะไรบ้าง
นักเรียนทราบไหมว่าเครื่องมือแต่ละชนิดใช้งานอย่างไร
3.3 อธิบายเนื้อหาเรื่องเครื่องมือตรวจสอบวงจรไฟฟ้าบนกระดานและมอบหมายให้นักเรียนเขียน ลงสมุดของนักเรียนทุกคน
3.4 ปฏิบัติภาระงาน โดยให้ทำทุกคน
3.5.บูรณาการโดยให้ตัวแทนแต่ละกลุ่ม 1 คนไปศึกษาผลการทดลองของกลุ่มเพื่อนๆทั้ง 4 กลุ่ม แล้วบันทึกลงสมุดของตนเอง พร้อมมาชี้แจงให้เพื่อนภายในกลุ่มเข้าใจตรงกัน
3.6 นำเสนอผลงานโดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนตอบคำถาม
3.7 ประเมินผลสรุปและเพิ่มเติมเนื้อหา
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
1.กิจกรรมอธิบายการต่อหลอดไฟฟ้า
1.1.ใบรายชื่อนักเรียน ม.3
1.2.เนื้อหาเรื่องอธิบายการต่อหลอดไฟฟ้า, คำถามจำนวน 2 คำถาม
1.3.เนื้อหาเรื่องอธิบายการต่อหลอดไฟฟ้า
1.4.หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.3, สมุดจดบันทึก
1.5.กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
1.6.บัตรกำหนดเวลา
1.7.ประเมินผลสรุป
2.กิจกรรมจำแนกอุปกรณ์ที่ใช้ในวงจรไฟฟ้า
2.1.ใบรายชื่อนักเรียน ม.3
2.2.เนื้อหาเรื่องจำแนกอุปกรณ์ที่ใช้ในวงจรไฟฟ้า, คำถามจำนวน 2 คำถาม
2.3.เนื้อหาเรื่อง จำแนกอุปกรณ์ที่ใช้ในวงจรไฟฟ้า
2.4.หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.3, สมุดจดบันทึก
2.5.กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
2.6.บัตรกำหนดเวลา
2.7.ประเมินผลสรุป
3.กิจกรรมจำแนกเครื่องมือตรวจสอบวงจรไฟฟ้า
3.1.ใบรายชื่อนักเรียน ม.3
3.2.เนื้อหาเรื่องการทำงานของอุปกรณ์ที่ใช้ในวงจรไฟฟ้า, คำถามจำนวน 2 คำถาม
3.3.เนื้อหาเรื่อง การทำงานของอุปกรณ์ที่ใช้ในวงจรไฟฟ้า
3.4.หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.3, สมุดจดบันทึก
3.5.กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
3.6.บัตรกำหนดเวลา
3.7.ประเมินผลสรุป
การวัดและประเมินผล
การวัดผล
1.วัดผลการอธิบายการต่อหลอดไฟฟ้าด้วยการตรวจผลการสรุปตามสมุดจดบันทึก โดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง
2.วัดผลการจำแนกอุปกรณ์ที่ใช้ในวงจรไฟฟ้าด้วยการตรวจผลการสรุปตามสมุดจดบันทึก โดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง
3.วัดผลการด้วยการตรวจผลการสรุปตามสมุดจดบันทึก โดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง
การประเมินผล
1.ประเมินผลการอธิบายการต่อหลอดไฟฟ้าพบว่า นักเรียน ....คน อธิบายการต่อหลอดไฟฟ้าไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้ศึกษาเรื่องอธิบายการต่อหลอดไฟฟ้าเพิ่มเติมนอกเวลาเรียน
2.ประเมินผลการจำแนกอุปกรณ์ที่ใช้ในวงจรไฟฟ้าพบว่า นักเรียน ..... คน จำแนกอุปกรณ์ที่ใช้ในวงจรไฟฟ้าไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้ศึกษาเรื่องจำแนกอุปกรณ์ที่ใช้ในวงจรไฟฟ้าเพิ่มเติมนอกเวลาเรียน
3.ประเมินผลการจำแนกเครื่องมือตรวจสอบวงจรไฟฟ้าพบว่า นักเรียน ............... คน จำแนกเครื่องมือตรวจสอบวงจรไฟฟ้าไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้ศึกษาเรื่องจำแนกเครื่องมือตรวจสอบวงจรไฟฟ้าเพิ่มเติมนอกเวลาเรียน
บันทึกผลหลังการสอน
ผลการสอน
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ปัญหา / อุปสรรค
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ข้อเสนอแนะ / แนวทางแก้ไข
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ลงชื่อ ...................................................... ครูผู้สอน
(นางสาวลดาวัลย์ รุ่งเรือง)
......./............/.........